
โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน จุดเริ่มต้นสารพัดโรคที่ไม่ควรมองข้าม
ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ที่มาพร้อมคำเตือนสำคัญ หลายคนหลงใหลในรสชาติหวานมันของทุเรียน แต่ทราบหรือไม่ว่าการรับประทานทุเรียนร่วมกับอาหารบางชนิดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต? บทความนี้จะอธิบายถึงอาหารที่ไม่ควรรับประทานคู่กับทุเรียน พร้อมเหตุผลที่ชัดเจนและวิธีการบริโภคทุเรียนอย่างปลอดภัย
ผู้อ่านจะได้เรียนรู้วิธีรับประทานทุเรียนอย่างถูกต้อง รวมถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อทานทุเรียน เพื่อให้สามารถเพลิดเพลินกับรสชาติของราชาผลไม้อย่างปลอดภัยและไร้กังวล
ไม่แนะนำ ให้ทานทุเรียนกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์พร้อมกันเพราะ ทุเรียนมีสารซัลเฟอร์
หรือกำมะถัน ในปริมาณสูง เข้าไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ในตับที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสารพิษจากแอลกอฮอล์ในร่างกาย ทำให้สารพิษตกค้าง อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทุเรียนมีน้ำน้อย อาจทำให้เกิดอาการร้อนใน กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว หากเผลอทานไปแล้ว ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ พักผ่อน สังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
การทานทุเรียนพร้อมกับกาแฟไม่ควรทำเนื่องจากมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อร่างกาย ทั้งทุเรียนและกาแฟมีสารที่เร่งการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย อาจทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้นและเกิดความรู้สึกร้อนภายในมากยิ่งขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ จนเกิดอาการวิงเวียน หรือหมดสติได้ เพื่อสุขภาพที่ดีและยับยั้งความเสี่ยงต่อโรค ควรลดการรับประทานทั้งทุเรียนและกาแฟในช่วงเวลาเดียวกัน หรือเลือกเครื่องดื่มอื่นที่ไม่มีคาเฟอีนแทนกาแฟเพื่อความปลอดภัยของร่างกาย
ทุเรียนและเครื่องดื่มชูกำลังมีคุณสมบัติที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้นและทำให้รู้สึกไม่สบายตัว อีกทั้งเครื่องดื่มชูกำลังมีคาเฟอีนส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ และการทานทุเรียนกับเครื่องดื่มชูกำลังอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือมีอาการไข้ขึ้นสูง อย่างไรก็ตาม ปริมาณและความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สุขภาพโดยรวม ปริมาณทุเรียนและเครื่องดื่มชูกำลังที่ทาน เพราะฉะนั้นควรระมัดระวังในการรับประทานและสังเกตอาการของตัวเอง หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
การทานทุเรียนกับอาหารรสจัดโดยทั่วไปไม่แนะนำเพราะทุเรียนเป็นผลไม้ที่ทำให้เกิดความร้อน ส่วนอาหารรสจัดมักมีรสเผ็ด การทานทุเรียนคู่กับอาหารรสจัดอาจทำให้เกิดอาการร้อนใน ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารอาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกไม่สบายตัว อย่างไรก็ตามร่างกายของแต่ละคนมีความไวต่ออาหารแตกต่างกันบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่บางคนอาจมีอาการข้างเคียง ดังนั้น ควรสังเกตอาการของร่างกายหลังทานทุเรียนกับอาหารรสจัดหากมีอาการข้างเคียงควรหลีกเลี่ยงการทานทุเรียนคู่กับอาหารรสจัดในครั้งต่อไป และที่สำคัญควรทานทุเรียนในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง
เหตุผลที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคไต ควรระวังการทานทุเรียน
1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มี น้ำตาล สูงผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระวังเป็นพิเศษเพราะการทานทุเรียนมาก ๆ อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ทุเรียนมีโซเดียมสูงผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรทานทุเรียนในปริมาณที่จำกัดพราะการทานทุเรียนมาก ๆ อาจส่งผลต่อความดันโลหิต
3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ทุเรียนมีไขมันอิ่มตัวสูงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรรับประทานทุเรียนในปริมาณที่จำกัดเพราะการทานทุเรียนมาก ๆ อาจส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด
4. ผู้ป่วยโรคไต ทุเรียนมีโพแทสเซียมสูงผู้ป่วยโรคไต ไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินได้เท่าคนปกติการทานทุเรียนมาก ๆ อาจส่งผลต่อการทำงานของไต
1. ทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรทานเกินวันละ 1 พู หรือ 2 เม็ด หากทานมากเกินไปจะทำให้เกิดร้อนใน เจ็บคอ และน้ำหนักขึ้นได้
2. เลือกทุเรียนที่ไม่สุกงอมจนเกินไป เนื่องจากทุเรียนที่ยิ่งสุกจัดจะมีความหวานมาก อีกทั้งยังมีแป้งและน้ำตาลเยอะ
3. ลดปริมาณอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล เมื่อทานทุเรียนแล้ว ควรลดแป้ง น้ำตาล ในอาการมื้ออื่น ๆ
4. ทานทุเรียนตอนเช้าหรือกลางวัน ทานมื้อเช้า มื้อกลางวัน ย่อยง่าย ดูดซึมน้ำตาลช้า ไม่ควรทานทุเรียนก่อนนอน
5. ไม่ทานคู่กับอาหารพลังงานสูง ข้าวมันไก่ทอด ข้าวขาหมู หรือขนมหวาน เช่น ข้าวเหนียวราดน้ำกะทิ เพราะมีแคลอรี่สูง
6. ไม่ทานคู่กับแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดอาการ หน้าแดง ชา วิงเวียน อาเจียน และเสียชีวิตได้
7. หลีกเลี่ยงทุเรียนแปรรูป เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด เพราะมีน้ำตาลสูงและให้พลังงานสูง
8. ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ ช่วยแก้อาการร้อนในหลังทานทุเรียน
9. ทานคู่กับผลไม้ฤทธิ์เย็น แตงโม มังคุด แก้วมังกร สับปะลด ช่วยลดความร้อนได้
10. กลุ่มโรคประจำตัว สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต และความดันโลหิตสูง ควรระมัดระวังในการทาน แนะนำให้ทานไม่เกิน 1 เม็ดเล็กต่อวัน หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อน
ข้อมูลจาก : กรมอนามัย , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
คนท้องสามารถทานทุเรียนได้ แต่ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งทุเรียนมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
มีทั้ง ใยอาหารสูง ช่วยระบบขับถ่าย วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงระบบประสาท ธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจางและโพแทสเซียม ควบคุมความดันโลหิต อย่างไรก็ตาม ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง หากเป็นโรคเบาหวานควรระวังเป็นพิเศษ สำหรับคนท้องนั้นควรทานทุเรียน ไม่เกินวันละ 1 พู หรือ 2 เม็ด เลือกทานทุเรียน สุกงอมหลีกเลี่ยงทุเรียน ดิบ และการทานทุเรียนหลังอาหารเพราะจะทำให้รู้สึกแน่นเกินไป และควรดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ พร้อมทานคู่กับผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม มัคคุด แก้วมังกรช่วยลดความร้อน จากการทานทุเรียน
การทานทุเรียนตอนมีประจำเดือน ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง แต่ อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ฮอร์โมน และความร้อนในร่างกาย ซึ่งแต่ละคนมีร่างกายที่แตกต่างกัน การตอบสนองต่อทุเรียนก็อาจแตกต่างกัน บางคนอาจรู้สึกถึงอารมณ์แปรปรวน ตัวบวม หงุดหงิด ดังนั้นควรสังเกตอาการของร่างกายตัวเอง หากทานแล้วรู้สึกไม่สบาย ควรหยุดรับประทานทุเรียนในช่วงเวลาที่เป็นประจำเดือน
การบริโภคทุเรียนสามารถทำได้อย่างปลอดภัย หากมีความรู้และการระมัดระวังในการเลือกอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคคู่กัน การใส่ใจในสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้อง จะช่วยให้เพลิดเพลินกับรสชาติของทุเรียนได้อย่างสบายใจ และยังเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ
เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อย่าปล่อยให้ค่ารักษาพยาบาล มาทำให้แผนการใช้ชีวิตไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ เพราะค่ารักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิดอาจสร้างปัญหาให้กับเงินออมและแผนการใช้ชีวิตได้ ให้ประกันสุขภาพจาก ชับบ์ ไลฟ์ ช่วยดูแลด้วยแบบประกันสุขภาพคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัด ประกันชดเชยรายได้ และประกันโรคร้ายแรงมอบความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม เพื่อปกป้องผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเจ็บป่วย และต้องรักษาตัว
ที่มา
โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน จุดเริ่มต้นสารพัดโรคที่ไม่ควรมองข้าม
ซีสต์ (cyst) ลักษณะ อาการ การรักษา และป้องกัน
15 อาหารบำรุงสมอง เสริมความจำ ป้องกันสมองเสื่อม
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ