ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน จุดเริ่มต้นสารพัดโรคที่ไม่ควรมองข้าม

09/2024
scale

ผลวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสาร Lancet ได้เน้นให้เห็นถึงปัญหาที่ร้ายแรงของโรคอ้วนที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณทั่วโลก เฉพาะในปี 2565 มีผู้คนมากกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดจากโรคอ้วน โดยที่อัตราการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนในผู้ใหญ่มากกว่าสองเท่าตั้งแต่ปี 2533 และเพิ่มขึ้นสี่เท่าในเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5 ถึง 19 ปี) โรคอ้วนเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของสังคมได้เป็นอย่างมาก 
 

โรคอ้วน คืออะไร

โรคอ้วน (Obesity) คือ สภาวะที่เกิดจากการสะสมของไขมันในร่างกายมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการบริโภคพลังงานเกินความต้องการของร่างกายหรือการเคลื่อนไหวน้อย โรคอ้วนสามารถเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
 

วิธีการวัดดัชนีมวลกาย (BMI)

ความอ้วนนั้นดูจากรูปร่างก็พอบอกได้ แต่ก็มีการวัดค่าอย่างละเอียดจากสูตรคำนวณดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ดังนี้ 

น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย จำนวนยกกำลังสองของส่วนสูง (เมตร)

  • ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมคือ อยู่ในช่วง 18.50 - 22.99
  • หากอยู่ในระหว่าง 23.00-24.90 ถือว่าเป็นคนท้วม
  • หากเกิน 25 ขึ้นไปจัดว่าเป็นคนที่มีนํ้าหนักเกินเกณฑ์
     

สาเหตุการเกิดโรคอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วนเกิดจากการทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมของพลังงานในรูปของไขมันตามร่างกาย หรืออาจมีภาวะระบบเผาผลาญของร่างกายไม่ดีจากการเป็นโรคไทรอยด์ ทำให้อ้วนง่ายขึ้น ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคอ้วนสามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยภายนอกและภายใน ดังนี้
 
ปัจจัยภายนอก
  • การทานอาหาร:
    ○ ทานอาหารที่ให้พลังงานสูง ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล แป้งขัดขาว มากเกินไป
    ○ ทานอาหารไม่เป็นเวลา กินจุบกินจิบ
    ○ ทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป บ่อยๆ
  • การไม่ออกกำลังกาย:
    ○ ขาดการเคลื่อนไหว นั่งทำงาน นั่งเล่น นอนเป็นเวลานาน
    ○ ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อย
  • ปัจจัยอื่นๆ:
    ○ พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย
    ○ เครียด วิตกกังวล
    ○ สูบบุหรี่
    ○ ดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจัยภายใน

  • พันธุกรรม: บุคคลที่มีพ่อแม่เป็นโรคอ้วน มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง
  • ฮอร์โมน: ความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ ส่งผลต่อความหิว ความอิ่ม และระบบเผาผลาญ
  • โรคประจำตัว: โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย
  • การรับประทานยาบางชนิด: ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาแก้แพ้ ยาฮอร์โมน ส่งผลข้างเคียง ทำให้เกิดน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 
     

อันตรายที่เกิดจากโรคอ้วน

อันตรายจากโรคอ้วนเนื่องจากไขมันสะสมในร่างกายเยอะ อาจมีไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ขัดขวางให้เส้นทางลำเลียงเลือดแคบลง ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือดแรงขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย นานวันไปอาจเกิดโรคหัวใจวายได้ รวมถึงโรคหลอดเลือดในสมองแตก หรือตีบตัน เสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นอกจากนั้นอาจเกิดภาวะข้อเข่าเลื่อม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เกิดจากการแบกรับน้ำหนักตัวมากๆ เป็นเวลานาน อาจมีอาการเริ่มจากปวดเมื่อย ข้อเข่า เอว หลัง ข้อเท้า เป็นสัญญาณในระยะแรก
 

ผลกระทบที่เกิดจากโรคอ้วน

โรคอ้วนส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ ดังนี้

  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคเมทาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome)
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็งต่าง ๆ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบกระดูกและข้อ
  • โรคทางเดินอาหาร
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคทางจิตเวช
  • โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • โรคทางผิวหนัง

 

ผลกระทบอื่นๆ 

  • อ่อนเพลียเรื้อรัง
  • นอนไม่หลับ
  • ภาวะทางอารมณ์
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • เสี่ยงต่อการล้ม
  • เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

 

วิธีลดภาวะการเกิดโรคอ้วน

ลดภาวะโรคอ้วนอย่างไรดี

  • ควบคุมอาหาร จากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารแต่ละมื้อควรให้พลังงานที่เหมาะสมของแต่ละช่วงวัยและไลฟ์สไตล์ แต่หากวุ่นวายจะคำนวณหาแคลอรี่ที่รับประทานในแต่ละมื้อ แนะนำให้เลือกทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำ เช่น อาหารต้ม นึ่ง แทนอาหารจากการทอด เน้นโปรตีนจากปลา ลดขนมหวาน ของขบเคี้ยว
  • ออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร เพื่อการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น และสุขภาพที่ดีขึ้น โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  • การผ่าตัดลดน้ำหนัก หรือที่เรียกว่าการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก เป็นวิธีการรักษาที่สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยวิธีอื่น ๆ
     

อันตรายของการใช้ยาลดความอ้วน

การใช้ยาลดความอ้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลากหลาย ทั้งผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ อัมพฤกษ์ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องใช้ยาลดความอ้วน ควรใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์โดยเฉพาะ ห้ามซื้อมาใช้เองเด็ดขาด เพราะยาลดความอ้วนมักเป็นวัตถุออกฤทธิ์ มีผลข้างเคียงสูงทั้งต่อหัวใจและหลอดเลือดอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

การเตรียมพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการมีประกันสุขภาพจาก ชับบ์ ไลฟ์ ที่มอบคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัด ประกันชดเชยรายได้ และประกันโรคร้ายแรง ช่วยให้อุ่นใจได้ว่าเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมา จะสามารถรับการรักษาพยาบาลได้อย่างหมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย

อ่านบทความที่น่าสนใจจากทาง ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ได้ ที่นี่:

  • โรคเก๊าท์ ป้องกันได้ รู้สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และอาหารที่ควรเลี่ยง
  • ทุเรียนห้ามกินกับอะไร? อันตรายถึงชีวิต!
  • รู้ทันป้องกันได้“อาการโรคเบาหวาน”ภัยเงียบคุกคามสุขภาพ

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อ
ติดต่อ

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ช่วยดูแลเป้าหมายในชีวิตของคุณ

ปรึกษาเรา เพื่อช่วยเติมเต็มความต้องการด้านประกันชีวิตของคุณ