ข้ามไปหน้าหลัก
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ความเสี่ยงใหม่ในการวิจัยทางคลินิกโรคโควิด-19

04/2022
virus

ในขณะที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์แข่งขันกันรับมือกับโรคโควิด-19 แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการเร่งดำเนินการวิจัยทางคลินิก ซึ่งจะต้องแลกกับอะไรบ้างและใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ความเร่งด่วนของวิกฤตสุขภาพจากโควิด-19 ทำให้เกิดการวิจัยทางคลินิกอย่างหนัก หลังจากรัฐบาลจีนให้จีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมของโควิด-19 กับประชาคมนานาชาติเมื่อเดือนมกราคมปี 2563 และเพียงแค่หกสัปดาห์ วัคซีนทดลองตัวแรกก็ได้ถูกจัดส่งไปใช้ในการวิจัยทางคลินิกกับมนุษย์ โดยภายในต้นเดือนสิงหาคมปี 2563 เกิดการวิจัยทดลองขึ้นเกือบ 3,000 ครั้งทั่วโลก ที่พยายามจะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามจุดต่าง ๆ ของเส้นทางชีวเคมีที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ความรวดเร็วใน การเตรียมวัคซีนทดลองเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากแค่ไหนและวิทยาศาสตร์สามารถก้าวหน้าได้เร็วเพียงใด อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางทุกสายตาที่มุ่งจะเอาชนะโควิด-19 ให้ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ที่ทุ่มเททุกอย่างที่มีไปกับโควิด-19 ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่กระทบต่อนักวิจัยที่ทำการทดลอง รวมถึงเจ้าของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นเจ้าของยาที่ถูกนำไปทดลองเองก็มีความเสี่ยงเช่นกัน แม้ว่าสถานการณ์ด้านกฎระเบียบจะอนุญาตให้สามารถทดลองอย่างเร่งด่วนและมีการผ่อนปรนมากขึ้น แต่นั่นไม่ได้ครอบคลุมไปถึงระดับความปลอดภัยของผู้ป่วย ถึงแม้ว่าจะเป็นวิกฤตสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน แต่การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นคือความเสี่ยงระยะยาวที่ต้องมีคนรับผิดชอบและมีการจัดการ

อ่านรายงาน “ความเสี่ยงใหม่ในการวิจัยทางคลินิกโรคโควิด-19” เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงใหม่และวิธีการที่จะสามารถบรรเทาความเสี่ยงได้

 

ประเด็นสำคัญ

  • การที่นักวิจัยให้ยาแก่อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยที่ความจริงแล้วสามารถยกเว้นได้นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดนัก
  • การเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขจุดสิ้นสุดหลักของการทดลองควรเป็นเรื่องที่ผิดปกติ
  • ผู้ผลิตสินค้าควรตื่นตัวอยู่เสมอว่าผลิตภัณฑ์ของตนถูกนำไปใช้อย่างไรบ้าง
  • กฏระเบียบอาจได้รับการผ่อนปรน แต่กฏหมายว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ยังคงเหมือนเดิม
  • ได้รับบทเรียนและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการวางโครงสร้างการทดลองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการประสานงานระดับโลก
Download
Download

ความเสี่ยงใหม่ในการวิจัยทางคลินิกโรคโควิด-19

หมายเหตุ:

แนวทางการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนข้างต้น เป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไป สำหรับผู้เอาประกัน และบริษัทฯ ในเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนของบริษัท ขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์แต่ละฉบับ ในแต่ละประเภทที่มีผลใช้บังคับในขณะที่เกิดความเสียหาย และบริษัทอาจขอข้อมูลเพิ่มเติม และ/ หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง จากที่ระบุไว้ หากมีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณา

 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

ให้ชับบ์ปกป้องดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเราเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ