รู้จัก 6 โรคร้ายแรงยอดฮิตที่ผู้หญิงควรระวัง และวิธีลดความเสี่ยง

ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

รู้จัก 6 โรคร้ายแรงยอดฮิตที่ผู้หญิงควรระวัง และวิธีลดความเสี่ยง

03/2025
ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง, โรคร้ายแรงในผู้หญิง


ท่ามกลางไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้หญิงอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว ด้วยปัจจัยเสี่ยงในด้านสุขภาพกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากความเครียดสะสมจากการทำงาน อาหารแปรรูปที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน มลภาวะทางอากาศที่กระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ไปจนถึงพฤติกรรมบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าอัตราการเกิดโรคร้ายแรงในผู้หญิงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเพศหญิงทั่วโลก แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะก้าวหน้าขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายรักษาโรคร้ายแรงกลับสูงขึ้นเช่นกัน

หลายคนเชื่อว่าสวัสดิการที่มีอยู่ เช่น ประกันกลุ่มจากที่ทำงานหรือประกันสังคมเพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริง ความคุ้มครองเหล่านี้มักมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในกรณีของโรคร้ายแรงที่ต้องใช้ค่ารักษาในระยะยาว การมีประกันสุขภาพโรคร้ายแรง จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่ดีที่สุดโดยไม่ต้อง
กังวลเรื่องภาระทางการเงิน
 

6 โรคร้ายแรงในผู้หญิงและวิธีลดความเสี่ยง

มาดูกันว่าโรคร้ายแรงในผู้หญิง มีโรคอะไรบ้าง
 

1. มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่คร่าชีวิตหญิงไทยมากที่สุด

จากสถิติพบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมเกิดจากพันธุกรรม ฮอร์โมน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและการขาดการออกกำลังกาย

วิธีลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ที่ทุกคนทำได้ง่าย ๆ การตรวจเต้านมเป็นประจำ หลีกเลี่ยงฮอร์โมนสังเคราะห์ และดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม้ว่ามะเร็งเต้านมระยะแรกสามารถรักษาได้ แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง โดยเฉพาะการทำคีโมหรือผ่าตัดเต้านม ซึ่งอาจอยู่ในระดับสูง หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เนื้องอก มะเร็ง และซีสต์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความก้อนเนื้อแบบไหนอันตราย เข้าใจความต่างของเนื้องอก ก้อนมะเร็ง และซีสต์ เพื่อเข้าใจถึงความแตกต่างและแนวทางการรับมือ
 

2. โรคหัวใจ ภาวะที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากขึ้นเรื่อย ๆ

แม้ว่าโรคหัวใจมักถูกมองว่าเป็นปัญหาของผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจในผู้หญิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเสี่ยงหลักเกิดจากความเครียด อาหารที่มีไขมันสูง และการขาดการออกกำลังกาย

การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี ถือเป็นวิธีการที่ช่วยลดการเป็นโรคหัวใจได้ 
 

3. มะเร็งปากมดลูก โรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

มะเร็งปากมดลูกเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิง และมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนและตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ การละเลยการตรวจสุขภาพอาจทำให้โรคพัฒนาไปสู่ระยะลุกลาม ซึ่งจะทำให้การรักษาซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคได้ โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายไม้พาย เก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนนำส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ 

4. โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) อัมพาตที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว

โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจเกิดจากความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน อาการของโรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่อัมพาตถาวร

วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การควบคุมความดันโลหิต ลดการบริโภคเกลือและไขมันอิ่มตัว เลิกสูบบุหรี่ และออกกำลังกายเป็นประจำ
 

5. โรคกระดูกพรุน ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบระยะยาว

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ส่งผลให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลงและเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย นอกจากอายุที่เพิ่มขึ้นแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน เช่น การขาดแคลเซียมและวิตามิน D รวมถึงพฤติกรรมที่ทำลายกระดูก เช่น การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้

การป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้โดยการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม ผักใบเขียว และเต้าหู้ ควบคู่กับการได้รับวิตามินดีจากแสงแดดและอาหารเสริมเป็นวิธีที่ช่วยชะลอการสลายของมวลกระดูก นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก หรือการฝึกความสมดุลอย่างโยคะและพิลาทิส ยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและลดความเสี่ยงของกระดูกหัก ซึ่งการเล่นโยคะและพิลาทิสหลายคนอาจมีความเข้าใจผิดว่าเป็นการออกกําลังกายที่คล้ายกัน แต่ในความเป็นจริงทั้งสองสิ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ พิลาทิสจะเน้นการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่ช่วยรักษาสมดุลให้กับแนวกระดูกสันหลัง ส่วนโยคะจะเน้นการสำรวจจิตใจ และมุ่งสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อเป็นหลัก สุดท้ายแล้วการออกกําลังกายทั้งสองอย่างนี้เป็นการฝึกให้ร่างกายของเราสามารถออกแรงได้อย่างสมดุล โดยรู้จักวิธีควบคุมกล้ามเนื้อกับลมหายใจไปด้วยอยู่ตลอดเวลา

โดยค่ารักษาพยาบาลของโรคกระดูกพรุนอาจเป็นภาระทางการเงินที่หนักหน่วง หากเกิดกระดูกหัก ค่ารักษาอาจสูงถึง 200,000 บาท หรือมากกว่านั้นในกรณีที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ดังนั้น การมีแผนป้องกันที่ดีและการวางแผนด้านสุขภาพอย่างรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างมั่นใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
 

6. โรคไตเรื้อรัง ภัยเงียบที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค

พฤติกรรมการกินอาหารรสเค็มจัดและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องฟอกไตเป็นประจำหรือต้องได้รับการปลูกถ่ายไต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของโรคไต เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในระยะยาว

วิธีป้องกันโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ ควบคุมการบริโภคโซเดียมและน้ำตาล และตรวจสุขภาพไตเป็นประจำ การมีข้อมูลที่ถูกต้องและการวางแผนป้องกันล่วงหน้าจึงเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรง
 

สุขภาพที่ดีวันนี้ ไม่ได้การันตีถึงอนาคต ควรมีการวางแผนสำรองเพื่อปกป้องทั้งชีวิตและการเงิน

หลายคนคิดว่าประกันสุขภาพทั่วไปหรือสวัสดิการที่มีอยู่เพียงพอแล้ว แต่เมื่อเผชิญกับโรคร้ายแรง ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาจสูงเกินกว่าที่คาดคิด หากไม่มีแผนสำรอง อาจต้องใช้เงินออมทั้งชีวิตหรือกู้ยืมเงินเพื่อให้ได้รับการรักษาที่จำเป็น

นอกจากค่ารักษาแล้ว การป่วยหนักยังส่งผลต่อรายได้ หากต้องหยุดงานเป็นเวลานาน รายได้ที่เคยมีอาจหายไปทันที ขณะที่ภาระทางการเงิน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนบุตร และค่าครองชีพ ยังคงอยู่

เตรียมการรับมือให้ดีในวันที่ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง “ซื้อประกันโรคร้ายแรงที่ไหนดี?” เป็น

คำถามที่หลายคนเริ่มตระหนักถึงเมื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนทางสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรงให้ความคุ้มครองในรูปแบบ "เงินก้อน" ทันทีเมื่อตรวจพบโรค ทำให้สามารถนำไปใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง หรือแม้แต่เป็นเงินสำรองในช่วงที่ขาดรายได้ได้อย่างอิสระ

สุขภาพที่ดีในวันนี้ไม่ได้หมายความว่าอนาคตจะปราศจากความเสี่ยง การเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยแผนประกันที่ครอบคลุมจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยลดภาระทางการเงินและ
มอบความมั่นใจให้กับตัวเองและครอบครัว หากยังไม่แน่ใจว่าควรเริ่มต้นอย่างไร การตรวจสอบแผนสุขภาพที่มีอยู่ และศึกษาตัวเลือกประกันที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงอย่างเหมาะสมเป็นก้าวสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
 

สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยโรคร้ายแรง 50 โรค
 

แบบประกัน สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยโรคร้ายแรง 50 โรค

ทางออกที่ช่วยให้สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนได้ คือการมีประกันโรคร้ายแรง ที่ให้ความคุ้มครองเป็นเงินก้อนทันทีเมื่อตรวจพบโรค สามารถนำไปใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง หรือแม้แต่ชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป
 

จุดเด่นของแบบประกัน สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยโรคร้ายแรง 50 โรค

●     คุ้มครองโรคร้ายแรงสูงสุดถึง 50 โรค ครอบคลุมตั้งแต่มะเร็ง โรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคไตวายเรื้อรัง

●     รับเงินก้อนทันที เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรง ไม่ต้องรอเคลมค่ารักษา สามารถนำไปใช้จ่ายได้ตามต้องการ

●     ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว ไม่ต้องพึ่งพาเงินออม หรือเป็นภาระของคนที่คุณรัก

●     ปรับแผนประกันได้ตามไลฟ์สไตล์ เลือกวงเงินคุ้มครองให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและความต้องการ
 

ประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส 90/10 และ ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส 90/20
 

แบบประกันโรคร้ายแรง ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส 90/10 และ ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส 90/20 ประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ สำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ ให้ทุกก้าวของชีวิตไม่สะดุด พร้อมมอบอิสระทางการเงิน โดยให้คุณสามารถเลือกชําระเบี้ยฯ ได้ แบบ 10 ปี หรือ 20 ปี พร้อมรับผลประโยชน์ตลอดสัญญาสูงสุด 215% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย 
 

จุดเด่นของประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส

●     คุ้มเคลม โรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1 รับผลประโยชน์ 25% เคลมได้สูงสุด 4 ครั้งตลอดสัญญา*

●     คุ้มค่า โรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 รับผลประโยชน์สูงสุด 100% และไม่ต้องชำระเบี้ยประกันต่อ พร้อมรับความคุ้มครองต่อเนื่องเพิ่มเติมเป็นค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 10%**

●     คุ้มยาว คุ้มครองจนถึงอายุครบ 90 ปี

●     คุ้มครบ เมื่ออายุครบสัญญารับเงินคืนสูงสุด 105% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย

●     คุ้มครอง สำหรับเด็ก
เด็กก็ทําได้ตั้งแต่อายุเพียง 31 วัน รับความคุ้มครองสูงสุด 215% * ครอบคลุมท้ัง 15 โรคร้ายแรงในเด็ก

หมายเหตุ
* สำหรับโรคร้ายแรงในเด็ก
% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ผลประโยชน์จะคำนวณจากจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เลือกไว้ในกรมธรรม์
*เคลมได้สูงสุด 4 ครั้งตลอดสัญญา: สำหรับโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1 สามารถเคลมได้ครั้งละ 1 โรค สูงสุด 4 ครั้งตลอดสัญญา

ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง ทั้งนี้ การรับประกันภัยเป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัทฯ

โรคร้ายแรงในผู้หญิงไม่ใช่เรื่องไกลตัว และไม่มีใครสามารถคาดการณ์อนาคตได้ ความเสี่ยงด้านสุขภาพสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และค่าใช้จ่ายอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษา การเตรียมแผนสำรองล่วงหน้าด้วยประกันคุ้มครองโรคร้ายเป็นการปกป้องทั้งสุขภาพและความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ แม้ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

หากกำลังมองหาประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพและการเงินในระยะยาว ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต คือทางเลือกที่ช่วยให้คุณและครอบครัวอุ่นใจ พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต
 

บทความ

อยากซื้อประกันสุขภาพเริ่มต้นอย่างไรดี เลือกแบบประกันอย่างไรให้ตอบโจทย์

ในปัจจุบันที่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมี ประกันสุขภาพ กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดภาระทางการเงิน และเพิ่มความอุ่นใจในชีวิต หากกำลังมองหาประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์รับมือความเสี่ยงด้านสุขภาพ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน บทความนี้จะช่วยแนะนำวิธีเลือกและเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพ

7 โรคร้ายแรงที่คนไทยควรรู้จัก และวิธีป้องกัน
 

โรคร้ายแรงเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ที่สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ โรคร้ายแรงส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

Ice Bath แช่น้ำแข็ง ผ่อนคลายร่างกาย สร้างสุขภาพที่แข็งแรง
 

เคยสงสัยไหมว่าทำไมนักกีฬาระดับโลกและเหล่าคนดังถึงนิยมแช่น้ำแข็งหลังการออกกำลังกาย? Ice Bath หรือการแช่น้ำเย็นจัดกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรักสุขภาพ ไม่เพียงแค่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย แต่ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความเครียด และกระตุ้นการเผาผลาญในร่างกายได้อย่างน่าทึ่ง

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา 

ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ปกป้อง ดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ