ชับบ์ ไลฟ์ แบบประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส

ข้ามไปหน้าหลัก
ประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ

ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส

ประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส 90/10 และซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส 90/20 ไอเทมประจําสำหรับตัวเองและทุกคนในครอบครัวที่มอบความคุ้มครองโรคร้ายแรงแบบตลอดชีพ พร้อมให้คุณเอาชนะทุกความเสี่ยงที่อาจมีเข้ามาอย่างไม่ทันตั้งตัว

ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส แบบประกันสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ ให้ทุกก้าวของชีวิตไม่สะดุด  พร้อมมอบอิสระทางการเงิน โดยให้คุณสามารถเลือกชําระเบี้ยฯ ได้ แบบ 10 ปี หรือ 20 ปี พร้อมรับผลประโยชน์ตลอดสัญญาสูงสุด 215% ของเงินเอาประกันภัย 

ไอเทมไม่ลับ เอาชนะทุกความเสี่ยง 

ชับบ์ ไลฟ์, ประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ, ซีไอ เอ็กซ์ตร้า พลัส, ประกันสําหรับเด็ก
ชับบ์ ไลฟ์ CI Extra Plus ไอเทมไม่ลับเอาชนะทุกความเสี่ยง Video Play icon
ประโยชน์หลักของแบบประกันโรคร้ายแรงตลอดชีพ
ดูแลระยะยาว

คุ้มครองชีวิตพร้อมโรคร้ายแรงจนอายุครบ 90 ปี

คุ้มครอง 65 โรคร้ายแรง

5 โรคร้ายแรง สำหรับโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1, 45 โรคร้ายแรง สำหรับโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 คุ้มครองโรคร้ายแรงในผู้ใหญ่ และ 15 โรคร้ายแรงในเด็ก

เคลมได้หลายครั้ง

เมื่อตรวจพบ 5 โรคร้ายแรงในกลุ่มที่ 1 รับความคุ้มครอง 25% เคลมได้สูงสุด 4 ครั้ง

ดูแลเต็มที่

เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 รับเงินก้อนสูงสุด 100% และไม่ต้องชําระเบี้ยฯ ต่อ พร้อมรับความคุ้มครองต่อเนื่องเหมือนเดิม

ดูแลอย่างต่อเนื่อง

มอบค่ารักษาพยาบาลจากโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 เพิ่มเติมให้อีกสูงสุด 10% ตลอดสัญญา

เบี้ยฯ คงที่

และสามารถเลือกระยะเวลาชําระเบี้ยฯ ได้ทั้ง 10 ปี และ 20 ปี

คุ้มครอง 15 โรคร้ายแรงในเด็ก

หากตรวจพบ 15 โรคร้ายแรงในช่วงอายุ 31 วัน - 15 ปี รับเงินก้อน 100%

ความคุ้มครองชีวิตสูงสุด 115%

และสูงสุด 215% เมื่อพบโรคร้ายแรงในเด็ก หรือเมื่ออยู่ครบสัญญา รับผลประโยชน์สูงสุด 105%




 

ci extra plus diagram 90/10




 

ci extra plus diagram 90/20




 

ผลประโยชน์ความคุ้มครองของโรคร้ายแรง

รับผลประโยชน์ 25% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1 ตามที่บริษัทฯ กำหนด เคลมต่างโรค และต่างกลุ่มโรค (1 ใน 5 โรค) เคลมสูงสุดได้ 4 ครั้ง)
หากผู้เอาประกันภัยได้รับผลประโยชน์นี้ครบ 4 ครั้งแล้ว จะไม่สามารถรับผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 ได้อีก

 

โรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์นี้ มีดังนี้​

1) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease Requiring Angioplasty)​

2) โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด (Stroke Requiring Carotid Endarterectomy Surgery)​

3) โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม (Non-invasive Cancer / Carcinoma in Situ)​

4) โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด (Cerebral Aneurysm Treatment by Endovascular Coiling)​

5) โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณคอ (Stroke Treatment by Carotid Angioplasty and Stent Placement)

รับผลประโยชน์ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 ตามที่บริษัทฯ กำหนด เคลมต่างโรค และต่างกลุ่มโรค (1 ใน 45 โรค)  พิเศษ รับผลประโยชน์เพิ่มเติมค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูในโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2  
บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ สูงสุดไม่เกิน 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ตลอดสัญญา

ผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงสำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ณ วันที่ครบรอบปีกรมธรรม์ รับผลประโยชน์ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค 1 ใน 15 โรคร้ายแรง สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ณ วันที่ครบรอบปีกรมธรรม์จะจำกัดสำหรับการจ่าย โรคร้ายแรงสูงสุดเพียง 1 ครั้งตลอดอายุกรมธรรม์

 

โรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 ที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์นี้ มีดังนี้​

1) โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)​

2) โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anemia)​

3) โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis)​

4) เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Brain Tumor)​

5) ตาบอด (Blindness)​

6) โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)​

7) โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)​

8) ตับวาย (Chronic Liver Disease / End-stage Liver Disease / Liver Failure)​

9) โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง /โรคปอดระยะสุดท้าย (Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease / End-stage Lung Disease)​

10) ภาวะโคม่า (Coma)​

11) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-pass Surgery)​

12) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)​

13) การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ (Open Heart Surgery for the Heart Valve)​

14) ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)​

15) การสูญเสียการได้ยิน (Loss of Hearing)​

16) การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ (Loss of Independent Living)​

17) การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (Total and Permanent Disability - TPD) (คุ้มครองถึงอายุ 70 ปี)​

18) การสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of Speech)​

19) แผลไหม้ฉกรรจ์ (Major Burn)​

20) การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Trauma)​

21) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation)​

22) โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor Neuron Disease)​

23) โรคระบบประสาทมัลติเพิล สะเคลอโรสิส (Multiple Sclerosis)

24) โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)​

25) โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)​

26) โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Other Serious Coronary Artery Diseases)​

27) อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา (Paralysis)​

28) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)​

29) โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ (Primary Pulmonary Arterial Hypertension)​

30) ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง (Severe Rheumatoid Arthritis)​

31) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)​

32) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)​

33) ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส (Lupus Nephritis from Systemic Lupus Erythematosus)​

34) สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Encephalitis) ​

35) ภาวะอะแพลลิก (Apallic Syndrome หรือ Vegetative State)​

36) โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery) ​

37) การฉีกขาดของรากประสาทต้นแขน (Multiple Root Avulsions of Brachial Plexus) ​

38) โรคโปลิโอ (Poliomyelitis) ​

39) การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ (Surgery for Idiopathic Scoliosis)​

40) ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง (Chronic Relapsing Pancreatitis) ​

41) โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) ​

42) โรคถุงน้ำในไต (Medullary Cystic Disease)​

43) โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย (Necrotizing Fasciitis and Gangrene)​

44) โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม (Progressive Scleroderma or Diffuse Systemic Sclerosis/Scleroderma)​

45) โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง (Severe Ulcerative Colitis or Crohn’s Disease)

บริษัทฯ จะจ่าย 105% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์หรือบันทึกสลักหลัง (ถ้ามี) หรือ เบี้ยประกันภัยสะสมในส่วนความคุ้มครองชีวิตที่บริษัทฯ ได้รับชำระจริง แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หักด้วยผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1 และโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 ที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปแล้ว (ถ้ามี) ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ทั้งนี้ เมื่อบริษัทฯ จ่ายผลประโยชน์นี้แล้ว กรมธรรม์นี้จะสิ้นผลบังคับทันที

หากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงวันครบรอบปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยอายุครบ 90 ปี ตามวันที่ของวันเริ่มมีผลคุ้มครอง บริษัทฯ จะจ่าย 105% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์หรือบันทึกสลักหลัง (ถ้ามี) หรือ เบี้ยประกันภัยสะสมในส่วนความคุ้มครองชีวิตที่บริษัทฯ ได้รับชำระจริง แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หักด้วยผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1 และโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 ที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปแล้ว(ถ้ามี) ทั้งนี้ เมื่อบริษัทฯ จ่ายผลประโยชน์นี้แล้ว กรมธรรมนี้จะสิ้นผลบังคับทันที

  • อายุที่รับประกันภัย: 31 วัน ถึง 65 ปี
  • จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ: 200,000 บาท ต่อกรมธรรม์
  • จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด:
    - 31 วัน – 15 ปี: 3,000,000 บาท ต่อผู้เอาประกันภัย 1 ราย
    - 16 – 65 ปี: 10,000,000 บาท ต่อผู้เอาประกันภัย 1 ราย
    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยของบริษัทฯ

  • ไม่สามารถแนบสัญญาเพิ่มเติมได้
  • การตรวจสุขภาพขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยของบริษัทฯ




 

% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย

ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้งโปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากโบรชัวร์และกรมธรรม์ประกันภัย
ทั้งนี้ การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของบริษัทฯ

บทความ

รู้ค่ารักษามะเร็งก่อนรักษา ป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน
 

ถามว่า "ค่ารักษามะเร็งแพงแค่ไหน?" คำตอบที่สะท้อนความจริงคือ "แพงกว่าที่คิด และสูงขึ้นทุกปี" จากข้อมูลล่าสุดพบว่า ค่ารักษามะเร็งในประเทศไทยเริ่มต้นที่หลักแสนและอาจพุ่งสูงถึงหลายล้านบาทต่อราย

ก้อนเนื้อแบบไหนอันตราย เข้าใจความต่างของเนื้องอก ก้อนมะเร็ง และซีสต์

เคยคลำเจอก้อนเนื้อแปลกๆ บนร่างกายแล้วรู้สึกกังวลหรือไม่? หลายคนอาจสงสัยว่าก้อนเนื้อที่พบเป็นเพียง “ซีสต์” หรืออาจเป็น “เนื้องอก” และที่น่ากลัวที่สุดคือ “มะเร็ง” แต่ละประเภทมีความแตกต่าง

เริ่มต้นอย่างไร? 4 ขั้นตอนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก
 

คุณพ่อคุณแม่ต่างก็คงอยากเห็นลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างสมวัยและสมบูรณ์แข็งแรง แต่ด้วยสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตในปัจจุบันทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายมากขึ้น ทั้งจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง