ติดเชื้อทางเดินหายใจ ใครเสี่ยงสุด!

ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

รู้ทันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หน้าฝน หน้าไหน…ใครเสี่ยงสุด

happy baby

ฝุ่นควันและมลภาวะขนาดเล็กที่ประกอบไปด้วยสารพิษมากมาย กลายเป็นปัญหาสุขภาพขั้นพื้นฐานของคนเมืองใหญ่ที่พบเจอได้ตลอดทั้งปี ยิ่งอยู่ในช่วงฤดูฝนอันชุ่มฉ่ำที่มีความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศระหว่างวันที่คาดเดาไม่ได้แบบนี้ยิ่งเจ็บป่วยได้ง่าย… มาร่วมรู้ทันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เตรียมพร้อมรับมือและป้องกัน ฝนนี้… ใครเสี่ยงสุดกันนะ

 

ติดเชื้อทางเดินหายใจ ใครเสี่ยงสุด!

  • กลุ่มเด็กเล็ก : เด็กอายุไม่ถึง 2 ปี อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ระบบทางเดินหายใจและหลอดลมล้วนมีขนาดเล็กตามตัว เมื่อเกิดการติดเชื้อโอกาสที่เชื้อโรคจะมุ่งตรงลงหลอดลม ส่งผลให้เกิดปอดบวมและปอดอักเสบได้ง่าย จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเพื่อแยกอาการของโรคว่าเป็นเพียงไข้หวัดตามฤดูกาลธรรมดา หรืออยู่ในกลุ่มโรครุนแรงอย่างอาร์เอสวี(RSV) จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • ผู้สูงวัย : ถึงตัวเลขอายุที่มากขึ้นจะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดได้มากขึ้นก็ตาม แต่เมื่ออายุเกินกว่า 65 ปี ระบบภูมิคุ้มกันทุกส่วนของร่างกายจะเข้าสู่ภาวะถดถอยกว่าครั้งวัยหนุ่มสาว ระบบการป้องกันตัวเองจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจย่อมลดลงตามไปด้วย แม้อาการแรกเริ่มอาจดูไม่รุนแรง แต่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ก็เสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน
  • ผู้มีปัญหาสุขภาพและโรคประจำตัว : หากเดิมเป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอย่าง ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หรือโรคปอดเป็นทุนเดิม ยิ่งต้องระวังเป็นสองเท่าเมื่อเข้าฤดูฝน เพราะความชื้นในอากาศที่สูงจะส่งผลให้เกิดการอักเสบต่อโพรงอากาศรอบจมูกได้ง่าย จึงจัดเป็นอีกกลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน

 

เพราะนอกจากไข้หวัดธรรมดาที่มีเชื้อไวรัสเกือบ 200 ชนิด จะพรั่งพรูมาพร้อมกับหน้าฝน และค่อยๆ ลดลงในฤดูร้อนแล้ว ยังมีไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ โรคปอดอักเสบ และหลอดลมอักเสบให้คอยระวังภัยกันอีกรอบด้าน

 

รู้ทันอาการโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนใหญ่ 75-80% เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza Viruses เป็นสาเหตุของไข้หวัด ซึ่งการติดเชื้อทางเดินหายใจมีอาการหลักๆ ที่พบได้คือทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนเกิดอาการอักเสบ น้ำมูกไหล เยื่อจมูกบวม อาจมีไข้ร่วมด้วยไปจนถึงปวดศีรษะ ไอแห้ง มักหายได้เองใน 1 สัปดาห์ ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีน้ำมูกเป็นสีเหลืองหรือเขียว เมื่อโรคเริ่มลุกลามอาจเกิดภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไปจนถึงหลอดลมอักเสบได้ด้วย

 

ติดเชื้อทางเดินหายใจ อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์

นอกจากอาการที่กล่าวข้างต้น ยังมีโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่มีอาการระยะเริ่มต้นคล้ายกับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ อาทิ การติดเชื้อจากไวรัส ไซนัสอักเสบ ไข้สมองอักเสบ ไข้สันหลังอักเสบ ไข้รากสาดน้อย เฮอร์แปงไจน่า เป็นต้น ดังนั้นหากพบว่ามีไข้ติดต่อกันนานเกิน 7 วัน หรือน้ำมูกมีลักษณะข้นเหนียว มีสีเหลืองหรือเขียว หายใจมีกลิ่น ปวดศีรษะ ขมับ หรือตำแหน่งไซนัส รวมถึงทุกอาการผิดปกติอื่นๆ ที่มีมากไปกว่าไข้หวัดธรรมดา แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

แม้โรคติดเชื้อทางเดินหายใจยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคได้โดยตรง แต่หากวิเคราะห์จากสาเหตุแล้วการป้องกันที่สำคัญซึ่งเราทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง คือการหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้มีอาการไอ จาม และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด รวมถึงรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสรับเชื้อทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

สนใจแผนประกัน คลิกที่นี่ หรือ โทร. 1758

 

สนใจทำประกันสุขภาพ Basic Work & Play ดูแลโรคออฟฟิศซินโดรมกับชับบ์

เพียงกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างให้ครบถ้วน เพื่อให้ ชับบ์ ติดต่อกลับ หรือ โทร 1758 เพื่อรับคำแนะนำด้านประกันสุขภาพออฟฟิศซินโดรม, ประกันสุขภาพมะเร็งระยะลุกลาม หรือประกันโรคไตที่เหมาะกับคุณ

กรุณาระบุชื่อ
กรุณาระบุนามสกุล
กรุณาระบุอีเมล
กรุณาระบุหมายเลขโทรศัพท์
ท่านมีบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตหรือไม่?
กรุณาตอบคำถาม
This field is required

บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ใช้และอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อการพิจารณารับประกันภัย การบริหารจัดการกรมธรรม์ การจัดการสินไหมทดแทน และวัตถุประสงค์ด้านประกันภัยอื่น ๆ ตามที่ระบุในนโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัท โดยท่านสามารถอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัทได้ ที่นี่