X
ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

อาการความดันต่ำ ภัยเงียบ... ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

03/2023
ความดันต่ำ

หน้ามืด เวียนหัวบ่อย เป็นเพราะพักผ่อนน้อยหรือว่าเพราะความดันต่ำ... ภาวะความดันต่ำ (Hypotension) คือภาวะค่าความดันภายในเลือดที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของค่าความดันภายในเลือดปกติ ภาวะความดันต่ำจึงเป็นอีกหนึ่งอาการเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของร่างกายในขณะนั้น ซึ่งโดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า เนื่องจากคิดว่าอันตรายกว่า แต่รู้หรือไม่ว่าความดันต่ำเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงและอันตรายไม่แพ้ความดันโลหิตสูงเลยทีเดียว 

 

ความดันต่ำ เกิดจากอะไร ?  

ต้องอธิบายก่อนว่าความดันต่ำคือภาวะไม่ใช่โรค ด้วยเพราะลักษณะอาการที่ไม่ได้พัฒนาไปสู่โรคเรื้อรังอื่นๆ แต่มักแสดงอาการออกมาอย่างเฉียบพลัน เช่น หน้ามืด เวียนหัว อ่อนเพลีย รวมถึงอาการใจสั่นร่วมด้วยได้ ซึ่งนอกจากอาการแสดงที่กล่าวมาแล้วนั้น เราสามารถเช็คได้ว่าตนเองมีภาวะความดันต่ำหรือไม่ ได้จากการตรวจวัดความดันโลหิต (Blood Pressure Monitoring) ผ่านค่าตัวเลขความดันโลหิตตัวบน หรือแรงดันขณะหัวใจกำลังบีบตัว (Systolic blood pressure) และความดันโลหิตตัวล่าง หรือแรงดันขณะหัวใจกำลังคลายตัว (Diastolic blood pressure) ซึ่งหากมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท จะเท่ากับภาวะความดันต่ำนั่นเอง สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ภาวะความดันต่ำ ได้แก่

 

  • ภาวะความดันต่ำเกิดจากอิริยาบถของร่างกาย หลายครั้งที่การลุกนั่งแบบกะทันหัน หรือการก้ม-เงยศีรษะอย่างรวดเร็วจะทำให้เรารู้สึกเวียนหัวขึ้นมาได้ นั่นเพราะความดันเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างรวดเร็ว จากความเร็วของอิริยาบถของร่างกาย กับจังหวะการหายใจและสภาพร่างกายในขณะนั้นด้วย
  • ภาวะความดันต่ำ เกิดจากเลือดในสมองไม่พอ อีกหนึ่งเหตุผลที่มีความเครียดเป็นเหตุ เพราะระดับความเครียดมีผลโดยตรงต่อระดับความดันในร่างกาย รวมถึงการขาดสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินซี และวิตามินบี ที่ช่วยให้เนื้อเยื่อโดยรอบผนังหลอดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันต่ำในเวลาต่อมาได้
  • ภาวะความดันต่ำอันเกิดจากการใช้ยาหรือโรคประจำตัว เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท และยาต้านเศร้า รวมถึงโรคประจำตัว หรือภาวะบางอย่างที่มีผลต่อระดับความดันในร่างกาย เช่น ภาวะตั้งครรภ์ อาการแพ้ โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ และโรคพาร์กินสัน เป็นต้น
  • ภาวะความดันต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ภาวะความดันต่ำที่เกิดจากพันธุกรรม หรือลักษณะรูปร่างที่บอบบางและผอมจนเกินไป อาจก่อให้เกิดภาวะความดันต่ำได้ รวมถึงการสะสมปัจจัยระหว่างทางจนทำให้เข้าสู่ภาวะความดันต่ำในอนาคตต่อไปได้

 

4 เรื่องต้องระวัง! คนความดันต่ำต้องหมั่นใส่ใจ 

เราจะเห็นว่าภาวะความดันต่ำนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แม้แต่การทำกิจกรรมปกติในช่วงที่ร่างกายพักผ่อนน้อย ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หน้ามืดเพราะความดันต่ำกะทันหันขึ้นมาได้ ซึ่งการเกิดภาวะความดันต่ำแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ภาวะความดันต่ำชนิดเฉียบพลัน จากการเปลี่ยนท่าทางกะทันหัน การพักผ่อนหรือการทำกิจกรรมต่างๆ และภาวะความดันต่ำชนิดเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำอยู่แล้ว ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะภาวะความดันต่ำในผู้สูงวัย ยิ่งต้องใส่ใจร่างกายมากเป็นพิเศษ ดังนี้

 

  1. อาบน้ำอุ่นเพื่อช่วยคงอุณหภูมิร่างกาย

    เพราะน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจะมีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือด ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำจึงควรอาบน้ำอุ่น เพื่อคงระดับความดันและรักษาอุณหภูมิให้ร่างกายไว้

  2. เช็คสุขภาพร่างกายอย่างใกล้ชิด

    โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันต่ำได้ง่าย ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยจนมีผลให้เกิดอาการเวียนหัว และหน้ามืดได้บ่อยกว่าปกติ 

  3. เฝ้าระวังอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยรุนแรง

    เช่น การล้มหมดสติ รวมถึงภาวะสมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจากภาวะความดันต่ำที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ตลอดจนการทำงานของสมองและหัวใจร่วมด้วย 

  4. เปลี่ยนอิริยาบถอย่างค่อยเป็นค่อยไป

    อย่างที่เราทราบกันดีว่าการลุก-นั่ง ก้ม-เงยเร็ว เป็นที่ทำให้เราหน้ามืด เวียนหัวได้ง่าย การชะลอความเร็วเมื่อต้องขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น จากนอนเป็นนั่งแล้วค่อยปรับเป็นการยืน รวมถึงการยกศีรษะสูงในขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและช่วยลดโอกาสของภาวะความดันต่ำได้เป็นอย่างดี

     

ป้องกันความดันต่ำ ต้องเน้นย้ำความแข็งแรง ! 

นอกจากการป้องกันเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะความดันต่ำแล้ว การใส่ใจไลฟ์สไตล์ เช่น การเพิ่มคุณภาพการนอนให้ดี พยายามดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงความเครียดและการเปลี่ยนท่าทางที่รวดเร็ว อาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะวิตามินบี 12 ผักใบเขียวและผลไม้ให้มาก เพราะผู้ที่มีภาวะความดันต่ำอยู่เดิม  

นอกจากการป้องกันดูแลสุขภาพให้แข็งแรงตามคำแนะนำดังกล่าวแล้ว  ชับบ์สามัคคีประกันภัยขอดูแลเคียงข้าง นำเสนอ แผนประกันสุขภาพโรคร้าย คุ้มครองครบ หากตรวจพบ 4 โรคร้าย โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ภาวะโคม่า มอบความคุ้มครองสูงสุด 2.5 ล้านบาท ค่าชดเชยรายได้สูงสุด 2,000 บาทต่อวัน กรณีเจ็บป่วยนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทำให้ทุกก้าวเดินของชีวิตคุณมั่นคงอย่างมั่นใจ

 

สนใจแผนประกันหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 0 2611 4000 และ 1758

เวลาทำการ: วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.00 - 20.00 น.

LINE: Chubb Thailand

อีเมล: customerservice.th@chubb.com

เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวัน 08.00 - 20.00 น.

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • โรงพยาบาลสมิติเวช

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

ให้ชับบ์ปกป้องดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเราเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ