ข้ามไปหน้าหลัก
การเดินทาง

การเดินทางทางอากาศอย่างปลอดภัย

05/2021
a guy working in the plane

เดินทางทางอากาศอย่างไรให้ปลอดภัย

ด้วยจำนวนผู้สัญจรทางอากาศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกอบกับมาตรการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการสัญจรทางอากาศที่รัดกุมมากขึ้น การโดยสารเครื่องบินสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปติดต่อธุรกิจในต่างประเทศจึงเปลี่ยนแปลงไปมากในปัจจุบัน ผู้ที่ต้องเดินทางไปทำธุรกิจในต่างประเทศนั้นสามารถเดินทางทางเครื่องบินได้อย่างปลอดภัย เมื่อปฎิบัติตามคำแนะนำ 4 ข้อต่อไปนี้

 

ขั้นตอนที่ 1: วางแผนการเดินทาง

  • เลือกเที่ยวบินที่แวะต่อเครื่องระหว่างทางให้น้อยที่สุด การแวะเปลี่ยนเที่ยวบินระหว่างทางเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ก่อการร้ายซึ่งมิได้มีเจตนาพลีชีพสามารถขึ้นเครื่องบินเพื่อทำการวางระเบิดแล้วลงจากเครื่องได้
  • ใส่ใจในการเลือกที่นั่งโดยสาร ตำแหน่งที่นั่งโดยสารที่ดีที่สุดคือที่นั่งติดกับประตูทางออกฉุกเฉินบริเวณปีกเครื่องบิน รองลงมาคือที่นั่งติดกับทางออกสำรอง ควรเลือกที่นั่งติดหน้าต่าง เพื่อป้องกันการรบกวนจากบริเวณทางเดิน

 

ขั้นตอนที่ 2: เตรียมสัมภาระ

  • ทุกสายการบินจะมีการจำกัดสัมภาระสำหรับขึ้นเครื่องบิน ผู้โดยสารจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อจำกัดเกี่ยวกับสัมภาระสำหรับโหลดใต้ท้องเครื่องและสัมภาระสำหรับหิ้วขึ้นเครื่องให้ดีก่อนออกเดินทาง เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน สายการบินจึงจำเป็นต้องจำกัดขนาดและน้ำหนักของสัมภาระสำหรับหิ้วขึ้นเครื่อง พยายามอย่านำสัมภาระขึ้นเครื่องมากเกินกว่าที่คุณสามารถถือได้
  • เก็บยารักษาโรคทั้งหมดไว้ในสัมภาระสำหรับหิ้วขึ้นเครื่องเพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ได้เมื่อจำเป็น
  • เก็บอุปกรณ์สื่อสารและแบตเตอรี่สำรองไว้ในสัมภาระสำหรับหิ้วขึ้นเครื่อง
  • จัดเตรียมกระเป๋าสัมภาระด้วยตัวเอง และล็อคกระเป๋าตลอดเวลา
  • ศึกษาประเภทของสิ่งของอันตรายที่ไม่ควรนำติดตัวไปในระหว่างการเดินทาง คุณสามารถตรวจสอบรายชื่อสิ่งของอันตรายที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบินได้บนเว็บไซต์ของสายการบินหรือสนามบิน

 

ขั้นตอนที่ 3: เมื่อถึงสนามบิน

  • ตรวจสอบเวลาเที่ยวบินของคุณและกำหนดเวลาที่คุณจะเดินทางไปถึงสนามบิน ควรเผื่อเวลาสำหรับขั้นตอนต่างๆ ซึ่งรวมถึงการโหลดสัมภาระและการตรวจสอบความปลอดภัยในสนามบิน
  • ไม่เตร็ดเตร่ในบริเวณพื้นที่รับรองสาธารณะ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการวางระเบิดหรือการก่อการร้ายต่างๆ มุ่งหน้าผ่านจุดตรวจสอบความปลอดภัยและเข้าไปบริเวณพื้นที่รอขึ้นเครื่องบินด้านในให้เร็วที่สุด
  • ไม่ปล่อยสัมภาระทิ้งไว้โดยปราศจากผู้ดูแลหรือปล่อยไว้กับคนแปลกหน้า รวมทั้งไม่หิ้วสัมภาระให้ผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บุคคลที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากพนักงานสายการบินหรือสื่อมวลชน รวมถึงผู้ที่มีท่าทางและการพูดจาที่ไม่ปกติ หลีกเลี่ยงความวุ่นวายทุกรูปแบบ ปลีกตัวให้ห่างจากเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหา มิใช่เข้าไปสังเกตการณ์ใกล้ๆ ตามผู้อื่น
  • ไม่กีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ใส่เครื่องแบบ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่สายการบินที่เดินตรวจตราพร้อมถือวิทยุสื่อสาร หากเจ้าหน้าที่สนามบินสั่งให้อพยพออกจากพื้นที่ ให้เข้าไปอยู่ตรงกลางฝูงชนในจุดที่มีคนรอบตัวมากที่สุด อย่าเดินนำหน้าหรือปิดท้ายขบวน
  • อย่าเพิกเฉยต่อลางสังหรณ์ หากมีอะไรที่รู้สึกผิดสังเกต ขอให้ระมัดระวังว่าอาจมีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้น
  • ไปตามสถานที่ที่ปลอดภัยตามสัญชาตญาณของคุณ
  • หากพบเห็นผู้โดยสารที่มีพฤติกรรมผิดปกติ ให้แจ้งพนักงานของสายการบินหรือเจ้าหน้าที่ทราบ

 

ขั้นตอนที่ 4: ภายในเครื่องบิน

  • ระมัดระวังเมื่อเก็บสัมภาระในช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ ไม่วางสัมภาระทับซ้อนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีคอมพิวเตอร์พกพาอยู่ด้านใน วางสัมภาระให้อยู่ในตำแหน่งตั้งตรงและเรียงติดกันเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บสัมภาระให้ผู้โดยสารท่านอื่น และป้องกันไม่ให้สิ่งของเคลื่อนที่ สัมภาระอาจร่วงหล่นจากช่องเก็บเหนือศีรษะได้หากมีการเคลื่อนย้ายในระหว่างเที่ยวบินหรือเมื่อสัมภาระที่บรรจุอยู่ในช่องเก็บมีน้ำหนักมากเกินไป
  •  ช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะอาจไม่สามารถรองรับสัมภาระที่มีน้ำหนักมากได้เมื่อเครื่องบินตกหลุมอากาศ ไม่ควรนำสัมภาระที่มีน้ำหนักมากจนยากต่อการยกขึ้นเก็บบนช่องเก็บเหนือศีรษะขึ้นบนเครื่อง และอย่าลืมว่าพื้นที่เก็บของใต้ที่นั่งก็มีจำกัดเช่นกัน
  • ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ยิ่งมีการบรรทุกสัมภาระในปริมาณมาก โอกาสที่ช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะจะเปิดออกและสิ่งของร่วงลงมาจนทำให้ได้รับบาดเจ็บก็จะยิ่งสูง อีกทั้งยังทำให้การอพยพเป็นไปได้ช้าลงเนื่องจากมีสัมภาระหล่นลงมากีดขวางทางเดิน
  • คุณสามารถใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานด้านความปลอดภัยและเป็นไปตามข้อปฏิบัติบนเครื่องบิน สายการบินมีสิทธิ์กำหนดประเภทของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้โดยสารสามารถพกขึ้นเครื่องได้ รวมถึงเงื่อนไขในการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวบนเครื่องบิน ซึ่งโดยทั่วไปอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องถูกตั้งค่าให้อยู่ในโหมดเครื่องบินตลอดทั้งเที่ยวบิน

 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

เช็คราคาหรือซื้อประกันภัยเดินทาง ที่นี่
เช็คราคาหรือซื้อประกันภัยเดินทาง ที่นี่

เผชิญโลกกว้างอย่างไร้กังวล

ด้วยประกันภัยการเดินทางที่คุ้มครองทั่วโลก