ข้ามไปหน้าหลัก
การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ไขข้อข้องใจ "พังผืดที่มือ" สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

09/2024
woman doing exercise

ใครที่มีอาการรู้สึกเจ็บเหมือนโดนเข็มทิ่ม หรือรู้สึกเหมือนไฟช็อตที่บริเวณมือ นั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคพังผืดทับเส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อยในคนที่ต้องใช้งานมือและข้อมือเป็นเวลานาน หรือทำกิจกรรมซ้ำ ๆ ที่ใช้ข้อมือมากเกินไป บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับโรคพังผืดกันว่า โรคนี้คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาอย่างไร พร้อมแนะนำท่าบริหารข้อมือเพื่อป้องกันโรคนี้มาให้ทำตามกันด้วย
 

พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ คืออะไร

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงาน เกิดจาก พังผืด บริเวณข้อมือที่หนาและแข็งตัวไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของนิ้วมือทำให้เกิดอาการปวดและชาตามนิ้ว อาจนำไปสู่อาการกล้ามเนื้อฐานนิ้วโป้งเกิดภาวะอ่อนแรงจนสูญเสียความรู้สึก ซึ่งส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้ 

พังผืดที่มือเกิดจากอะไร

ในยุคปัจจุบันพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือ เพื่อการทำงาน แชท เล่นเกม เป็นเวลานาน และใช้งานในลักษณะเดิมซ้ำๆ ติดต่อกันหลายวันมากเกินไป อาจจะส่งผลให้เกิดพังผืดบริเวณข้อมือมีขนาดใหญ่และหนามากขึ้น ทำให้พื้นที่ที่เส้นเอ็นผ่านขณะงอหรือเหยียดนิ้วแคบลงจนเกิดการกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดและชาตามนิ้ว หากยังคงมีพฤติกรรมเดิมต่อเนื่องและไม่ได้รับการรักษาอาจจะนำพาไปสู่อาการกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือด้านนอกลีบและอ่อนแรง

อาการพังผืดที่มือ

อาการของพังผืดจะรู้ได้โดยเริ่มจากการชานิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือจนถึงนิ้วนาง ความถี่ของอาการจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ตามอาการ บางรายมีอาการนิ้วมือไม่ค่อยมีแรง ไม่สามารถกำมือได้ หรือหยิบจับของได้ลำบาก โดยอาการมักจะเป็นมากตอนกลางคืน เนื่องจากขณะนอนจะมีเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทและเพิ่มการบวมของเยื่อหุ้มเส้นเอ็น
 

วิธีรักษาพังผืดที่มือ

● การดามข้อมือ : เป็นวิธีรักษาพังผืด บริเวณข้อมือที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยวิธีนี้จะช่วยให้ข้อมือนิ่ง ลดการเคลื่อนไหว และบรรเทาอาการปวดได้

● ปรับพฤติกรรมการใช้ข้อมือ : เพื่อลดการกระตุ้นพังผืด เช่น การยกของหนัก การพิมพ์คีย์บอร์ดเป็นเวลานาน เป็นต้น

● การผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ : หากรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล การผ่าตัดพังผืดเป็นวิธีรักษาที่เอาส่วนพังผืดที่แข็งตัวและหนาออกจะช่วยลดการกดทับของเส้นประสาทที่ข้อมือได้

สำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการปวดชาแต่มีพฤติรรมใกล้เคียงสาเหตุการเกิดโรค ขอแนะนำท่าบริหารข้อมือเพื่อป้องกันการแก้โรคได้ ดังนี้  

ท่าบริหารเส้นเอ็นข้อมือ

ทำแต่ละท่าค้างไว้ประมาณ 7 วินาที ทำซ้ำแต่ละขั้นตอนวันละ 5 ครั้ง

  1. ตั้งฝ่ามือขึ้น แบมือและเหยียดนิ้วทุกนิ้วให้ตรง
  2. งอนิ้วมือทุกนิ้วยกเว้นนิ้วโป้งให้ปลายนิ้วจรดโคนนิ้ว
  3. กํามือและแบมือ
  4. งอข้อนิ้วมือตรงโคนนิ้วของทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วโป้ง ให้ทํามุมตั้งฉากกับฝ่ามือ
  5. กดนิ้วมือลงมาที่ฝ่ามือเบาๆ ขณะเดียวกันพยายามดึงนิ้วโป้งห่างออกจากฝ่ามือให้มากที่สุด
     

ท่าบริหารเส้นประสาทแขนและข้อมือ

ทำแต่ละท่าค้างไว้ประมาณ 7 วินาที ทำซ้ำแต่ละขั้นตอนวันละ 5 ครั้ง

  1. ตั้งฝ่ามือขึ้นแล้วกํามือ
  2. แบมือและเหยียดนิ้วทุกนิ้วให้ตรงที่สุด โดยให้แต่ละนิ้วชิดกัน
  3. หงายฝ่ามือไปด้านหลัง ขณะเดียวกันให้กางนิ้วโป้งให้ห่างจากฝ่ามือมากที่สุด
  4. ใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างดึงนิ้วโป้งให้ห่างจากฝ่ามือให้มากที่สุด

บริหารข้อมูลตามท่าบริหารด้านบนได้ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากอาการปวดและชาจากโรคได้เป็นอย่างดี และหาก เป็นคนที่สนใจเรื่องการดูแลสุขภาพ ลองให้แอปพลิเคชัน ชับบ์ ไลฟ์บาลานซ์ เป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพ ด้วยโค้ช AI ที่สามารถให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ และช่วยประเมินคะแนนสุขภาพได้

มือของมนุษย์นั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ใช้หยิบจับ ทำงาน และดำเนินกิจวัตรประจำวัน การใช้งานมือและข้อมืออย่างหนักเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคพังผืดได้ ดังนั้น อย่าลืมดูแลมือและข้อมือตัวเองให้ดี เพราะมือคืออวัยวะสำคัญที่ช่วยให้สามารถทำมาหากินสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและตัวเองได้

การทำประกันสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา เพราะค่ารักษาพยาบาลที่ไม่คาดคิดอาจสร้างปัญหาให้กับเงินออมและแผนการใช้ชีวิตได้  


อ่านบทความที่น่าสนใจจากทาง ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ได้ ที่นี่:

 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

ให้ชับบ์ปกป้องดูแลคุณ

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเราเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ