ข้ามไปหน้าหลัก
บ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน

รู้ก่อนปลอดภัยกว่า แนะวิธีสังเกตบ้าน เสี่ยงต่อน้ำท่วม พายุพัดหรือไม่?

03/2022
storm

รู้หรือไม่ว่า ในแต่ละปี ภัยที่เกิดจากธรรมชาติทั้งน้ำท่วมและลมพายุ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าบ้านของเรากำลังเสี่ยงต่อการประสบภัยดังกล่าว วันนี้เรามีข้อสังเกตง่าย ๆ ให้คุณได้ลองสังเกตดูว่าบ้านที่คุณกำลังอาศัยอยู่นั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุน้ำท่วมบ้านและพายุพัดบ้านเสียหายมากน้อยเพียงใด ซึ่งคุณสามารถพิจารณาและตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ ดังนี้

 

ตำแหน่งที่ตั้งของบ้าน

ถ้าบ้านของคุณตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นคูคลอง ริมแม่น้ำ ริมทะเลสาบ หรือแม้กระทั่งริมทะเล ก็อาจเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระดับน้ำขึ้นสูงจากฝนตกหนัก น้ำทะเลหนุนสูง น้ำล้นตลิ่ง

หากบ้านของคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีการปรับระดับความสูงของถนน หรือทำถนนใหม่อยู่บ่อยครั้ง อาจส่งผลให้บริเวณบ้านของคุณอยู่ระดับต่ำกว่าถนน เมื่อเกิดฝนตกหนักก็จะทำให้เสี่ยงต่อน้ำท่วมบ้านได้

นอกจากนี้ บ้านที่อยู่อาศัยมานาน หรือบ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการก่อสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาบ่อย อาจทำให้ชั้นดินบริเวณบ้านของคุณยุบตัว เสี่ยงต่อการทรุดตัวของบ้าน จนอาจทำให้เป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมบ้านได้ ทั้งนี้การมองดูด้วย ตาเปล่า อาจมองเห็นการทรุดของบ้านได้ยาก วิธีเช็คเบื้องต้นง่าย ๆ คือ ให้สังเกตดูรอยร้าวบนตัวบ้านแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ หรือวิศวกรมาตรวจสอบซ้ำเพื่อความมั่นใจอีกครั้ง

 

สภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน

การปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ใกล้ตัวบ้าน หรือบริเวณบ้านมีแผ่นป้ายโฆษณาที่เป็นโครงเหล็กขนาดใหญ่ตั้งอยู่นั้นก็เป็นจุดที่ควรระวังเหตุการณ์พายุพัดด้วยเช่นกัน เพราะหากเกิดลมพัดแรง อาจส่งผลให้ต้นไม้ล้มทับ บางส่วนของต้นไม้ หักโค่นปลิวมา หรือป้ายโฆษณาอาจถูกพายุพัดโดนตัวบ้าน จนทำให้บ้านของคุณเกิดความเสียหายได้

อนึ่งจากสถิติโดยกรมอุตุนิยมวิทยามีบันทึกไว้ว่า ปกติประเทศไทยจะมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาโดยเฉลี่ยประมาณ 3 - 4 ลูกต่อปี โดยช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมพายุจะเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน (บริเวณตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จากนั้นตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม จะเป็นระยะที่พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุด โดยเริ่มจากภาคใต้ และสามารถกระจายไปได้ในทุกพื้นที่ สำหรับช่วงปลายปีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พายุจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนได้น้อยลง และมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้มากขึ้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมพายุมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้เท่านั้น

 

การออกแบบบ้านที่เหมาะสม

หากบ้านของคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเจอลมพายุหรือน้ำท่วม การออกแบบที่เหมาะสมนั้นมีส่วนช่วยลดความเสียหายได้อย่างมาก เช่น ถ้าบ้านของคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเจอน้ำท่วม ก็อาจก่อสร้างบ้านบนพื้นที่สูงหรือยกตัวบ้านให้สูงขึ้น หรือเตรียมการป้องกันเหตุน้ำท่วมด้วยวิธีต่างๆ อาทิเช่น การก่อกำแพงหรือแผ่นเหล็กกั้นน้ำ การเตรียมอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ

ถ้าบ้านของคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเจอพายุ นอกจากการสร้างบ้านด้วยโครงสร้างวัสดุที่แข็งแรงมีความทนทานต่อลมพายุแล้ว หากมีการต่อเติมบ้านก็ควรพิจารณาเรื่องการออกแบบส่วนต่อเติมให้สมดุลกับตัวบ้านเดิมและเลือกใช้ วัสดุที่แข็งแรงด้วยเช่นกัน

จากข้อมูลที่กล่าวมา เหตุการณ์น้ำท่วมหรือพายุเป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดเดาได้ รวมถึงสามารถมีโอกาสเกิดขึ้นกับทุกครัวเรือน ผลกระทบของภัยจากน้ำสามารถทำลายบ้านเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งระยะสั้นและยาว ชับบ์มี 5 สัญญานเตือนน้ำรั่วซึมภายในบ้าน ที่สามารถนำไปใช้ได้ เพราะเช็คก่อนชัวร์กว่า! 

ที่มา ข้อมูลพายุจากกรมอุตุนิยมวิทยา

 

สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ติดต่อเรา
ติดต่อเรา

คุ้มครองบ้านที่อยู่อาศัย และทรัพย์สินของคุณ

ค้นหาแผนประกันภัยที่ครอบคลุมทุกความต้องการ เพียงฝากข้อมูลการติดต่อของคุณไว้ เจ้าหน้าที่ของชับบ์จะติดต่อคุณกลับไป