เมื่อเก็บออมเงินไว้ ก็ควรนำเงินออมไปเก็บไว้ในเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมขึ้นด้วย โดยปัจจัยการนำเงินไปลงทุนในที่ใด หลักการสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การวางแผนลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง กล่าวคือการลงทุนในรูปแบบสินทรัพย์ที่หลากหลายและไม่ซ้ำซ้อนกันจนเกินไป เพื่อไม่ให้ขาดทุนหนักจากความผันผวนในตลาดหรือทรัพย์สินนั้นๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ แต่ก็แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นๆ อยู่ในภาวะให้ผลตอบแทนสูงมากกว่าชนิดอื่นๆ แล้วจะกระจายการลงทุนในสัดส่วนเท่าไหร่ดี อันนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายส่วนบุคคลเป็นสำคัญ เช่น ต้องการเกษียณอายุ ซื้อบ้านใหม่ แต่งงานสร้างครอบครัว เก็บเป็นทุนการศึกษาลูก ฯลฯ
ขอยกตัวอย่างการเกษียณอายุ เพราะน่าจะเป็นเป้าหมายที่จำเป็นสำหรับคนทุกคน เพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในตอนแก่ชราเมื่อไม่ได้ทำงานหรือมีรายได้ประจำแล้ว หากเริ่มวางแผนตอน “วัยเริ่มต้นทำงาน” อายุ 21-30 ปี มีระยะเวลานานกว่าจะถึงตอนเกษียณ ก็อาจจะลงทุนแบบเสี่ยงได้มากหน่อย เช่น การลงทุนใน “ตลาดทุน” ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่มีแนวโน้มที่จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น หุ้นหรือกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งหากอยู่ในภาวะขาดทุนเพราะเป็นตลาดขาลง ก็ไม่กังวลใจมากเพราะมีเวลาอีกนานกว่าจะเกษียณ โดยยิ่งการลงทุนมีระยะยาวมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการขาดทุนก็มีแนวโน้มลดลง โดยสรุปสามารถลงทุนในหุ้นได้ 70-80% ส่วนที่เหลืออาจจะเป็นเครื่องมือการเงินประเภท “ตลาดเงิน” จำพวก เงินฝากธนาคาร พันธบัตรหรือตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนไม่สูงมาก จะได้แบ่งส่วนที่ปกป้องเงินออมเราไม่ให้มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด
แต่หากคิดว่าจะนำเงินออมทั้งหมดลงไว้กับ “ตลาดเงิน” ที่มีความเสี่ยงต่ำทั้งหมดแล้ว แม้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นจะต่ำมาก แต่อย่าลืมว่าความเสี่ยงจากการ “เสียโอกาสรับผลตอบแทน” ก็มีเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น “ไม่กระจายการลงทุนเท่ากับความเสี่ยง” จึงควรแบ่งเงินลงทุนไว้ในหลายๆ ชนิดการลงทุน
ทั้งนี้ หากใครที่ทำงานมาซักระยะแล้ว เริ่มมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ลองพิจารณาประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลสูงสุดปีละ 300,000 บาท (กรณีไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนฯ จากประกันชีวิตรูปแบบอื่น) ประกันแบบบำนาญส่วนใหญ่ความเสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดี มีความแน่นอนและชัดเจน มีการรับประกันการจ่ายเงินบำนาญ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละแบบประกันฯ ด้วยนะ
สงวนลิขสิทธิ์ @ ชับบ์ 2022 เนื้อหาในเอกสารนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และจะไม่ถือว่าเป็นการให้คำแนะนำใด ๆ โปรดตรวจสอบข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นฉบับสมบูรณ์ของนโยบายของเราเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มครองอาจได้รับการรับประกันโดยบริษัทชับบ์ หรือบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งราย สิทธิความคุ้มครองและบริการบางอย่างอาจไม่สามารถใช้ได้ในบางประเทศและบางเขตพื้นที่ ชับบ์® และประทับตราพาณิชย์ของชับบ์ Insured.SM เป็นเครื่องหมายการค้าของชับบ์ที่ได้รับการคุ้มครอง
ติดต่อเรา
ให้ ชับบ์ ไลฟ์ ปกป้อง ดูแลคุณ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ