อุบัติเหตุทางต่างระดับสำหรับทางเท้า โดยเฉพาะทางลาดชัน และการตกบันได ถือเป็นอุบัติเหตุที่พบได้มากในกลุ่มผู้สูงวัย หรือแม้แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่มักเกิดจากความไม่ระมัดระวัง การวิ่งขึ้นลงบันไดแบบเร็ว ๆ หรือการเดินขึ้นลงบันไดในที่มืด การเดินตกบันไดจึงเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายกับคนทุกวัย แม้เราจะใช้ชีวิตประจำวันปกติอยู่ภายในบ้าน
เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น เชื่อว่าความตกใจเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนสัมผัสได้ก่อน โดยเฉพาะผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่เดิม ที่มักมีอาการหน้ามืดหรือเวียนหัวจนทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม หรือพลัดตกบันไดได้ง่าย การทำความเข้าใจเพื่อเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่หลายคนควรรู้ไว้เพื่อช่วยลดความรุนแรงให้ผู้บาดเจ็บเบื้องต้นได้ ดังนี้
การตรวจดูอาการบาดเจ็บเหล่านี้ จะช่วยให้เราแน่ใจว่าสามารถเริ่มต้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ผู้พลัดตกบันได หรือเดินตกบันไดก่อนได้ ซึ่งโดยทั่วไปหากเป็นการเดินตกบันไดที่ไม่สูงมาก ก็อาจเป็นเพียงการประคบร้อนและเย็นแบบทั่วไป แต่ในกรณีพลัดตกบันไดจากที่สูง จนถึงขั้นมีกระดูกแตกหัก เราจึงควรเรียนรู้วิธีดามแผลที่แตกหักไว้ในเบื้องต้น
เมื่อเราทราบระดับอาการบาดเจ็บเบื้องต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปฐมพยาบาลก่อนนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
กรณีที่ผู้พลัดตกบันไดมีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ บวมแดง หรือมีเลือดออก ให้เราหาผ้ามาทำการประคบเย็นก่อน 24 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นเลือดหดตัวลง หลังจากนั้นค่อยตามด้วยการประคบร้อนด้วยน้ำอุ่น เพื่อบรรเทาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ
กรณีที่พบหรือสงสัยว่าผู้พลัดตกบันไดอาจมีกระดูกหัก ให้ใช้วัสดุชนิดแข็ง เช่น กระดาน ท่อนไม้ หรือพลาสติกแข็ง ดามหรือตรึงอวัยวะส่วนที่บาดเจ็บไว้ก่อนได้ ในกรณีที่มีกระดูกโผล่ออกมานอกผิวหนัง ห้ามดันกระดูกกลับเข้าที่ในทันที แต่ให้ใช้ผ้าสะอาดมาคลุมบริเวณที่บาดเจ็บไว้ก่อนค่อยทำการดาม และโทรแจ้งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บด้วยตัวเอง เพราะการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธีอาจทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดการบาดเจ็บมากกว่าเดิมและเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ควรงดดื่มน้ำหรืออาหาร เพราะผู้บาดเจ็บอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนเมื่อถึงมือแพทย์
เพราะการพลัดตกบันไดหรือการเดินตกบันได เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ภายในบ้าน ซึ่งนอกจากการดูแลสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเฉียบพลันเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยพยุง เช่น ราวจับ รวมถึงแสงไฟตามทางเดินภายในบ้าน เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้
อุบัติเหตุอยู่รอบตัวเราในทุกย่างก้าวสิ่งสำคัญที่สุดคือความไม่ประมาท ไม่ควรมองข้ามสถานการณ์อาจมีความเสี่ยงเกิดอันตราย รวมไปถึงการมีแผนสำรองการสร้างหลักประกันกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ชับบ์สามัคคีประกันภัยเสนอ แผนประกันอุบัติเหตุครอบครัวอุ่นใจ ช่วยทำให้คุณมั่นใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยง
สนใจแผนประกันหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 0 2611 4000 และ 1758
เวลาทำการ: วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.00 - 20.00 น.
LINE: Chubb Thailand
อีเมล: customerservice.th@chubb.com
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวัน 08.00 - 20.00 น.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก