ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ เพิ่งเริ่มทำงาน หรือทำงานมานานแค่ไหนแล้วก็ตาม การเก็บออมเงินเพื่อวางแผนทางการเงิน วางแผนอนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ แต่เลือกที่จะเก็บมากหรือน้อยก็ต้องดูตามความเหมาะสม และต้องรู้จักวิธีจัดการกับอุปสรรคในการเก็บออมด้วย ซึ่งอุปสรรคต่างๆ ในการเก็บออมนั้น ได้แก่
การขาดเป้าหมายในการสะสมทรัพย์ ทำให้เราคาดการณ์จำนวนเงินออมคลาดเคลื่อนไป โดยอาจจะออมน้อยเกินไปและใช้จ่ายเกินตัว เพราะคิดว่าออมไว้พอสมควรแล้ว เมื่อถึงเวลาต้องใช้จริงกลับมีไม่พอ เช่น หากต้องการเก็บเงินซื้อบ้านหรือคอนโด ซึ่งเป็นเงินก้อนโต ถ้าวางแผนทางการเงินไว้อย่างดี ถึงเวลาก็สามารถโปะเงินกู้ และลดภาะดอกเบี้ยได้เยอะ สามารถนำเงินไปใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้อีกด้วย
ภาวะเงินเฟ้อนั้นทำให้มูลค่าของเงิน “ลดลง” เช่น สมัยก่อนเคยซื้อข้าวแกงมื้อละ 30 บาท แต่สมัยนี้ต้องจ่าย 40 บาท นั่นคือมูลค่าเงินที่เราใช้แลกสินค้ามันลดลงจึงต้องจ่ายมากขึ้น การเก็บออมจึงไม่ควรเก็บเงินทั้งหมดไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่มักจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพราะจะกลายเป็นยิ่งเก็บไว้นานมูลค่ายิ่งลดลง (หากได้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าภาวะเงินเฟ้อ) ให้ลองแบ่งเงินเก็บไปลงทุนในเครื่องมือทางการเงินอื่น เช่นกองทุนต่างๆ หรือหุ้น เป็นต้น เพื่อช่วยเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนของเงินออมที่สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ทุกการลงทุนมักมีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนลงทุนควรทำการศึกษาในเครื่องมือทางการเงินด้วย
การนำเงินไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จำเป็นต้องศึกษาให้ดีและรู้จักกระจายการลงทุนด้วย แม้ว่าลงทุนในหุ้นทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อาจสามารถทำกำไรได้เยอะ แต่ก็มีโอกาสขาดทุนสูงหากตัดสินใจผิดพลาด
ฉะนั้น ต้องเลือกกระจายความเสี่ยงผ่านรูปแบบหรือเครื่องมือการลงทุนที่ต่างกันออกไปตามสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละช่วงเวลาของชีวิต การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้จากบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ หรือกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ไม่เสี่ยงนัก เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่พอรับได้และเพิ่มความปลอดภัยต่อเงินต้นด้วย
อุปสรรคข้อนี้พอจะลดความเสี่ยงได้จากการดูแลสุขภาพ ทั้งออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่อย่างไรก็ดี เมื่ออายุมากขึ้นก็อาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสมัยนี้ไม่ใช่น้อยๆ บางทีเจ็บป่วยใหญ่ครั้งเดียวอาจต้องใช้เงินที่หามาเกือบทั้งชีวิตเพื่อรักษา ดังนั้นควรมีประกันชีวิตที่แนบความคุ้มครองด้านสุขภาพไว้บ้าง หรือจะเป็นประกันโรคร้ายแรง ประกันชดเชยรายได้เมื่อต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อเงินออมที่เก็บไว้ได้ อีกทั้งเบี้ยประกันที่จ่ายยังสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากรอีกด้วย